การพักโทษ การพักการลงโทษ หมายถึง การปลดปล่อยไปก่อนครบกำหนดโทษตามคำพิพากษาศาลภายใต้เงื่อนไขคุมประพฤติที่กำหนด การพักการลงโทษมิใช่สิทธิของผู้ต้องขัง แต่เป็นประโยชน์ที่ทางราชการให้แก่นักโทษเด็ดขาดที่มีความประพฤติดี มีความก้าวหน้าทางการศึกษา ทำงานเกิดผลดีแก่เรือนจำหรือทำความชอบแก่ทางราชการเป็นพิเศษ คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการปล่อยตัวพักการลงโทษต้องมี ดังนี้
• เป็นนักโทษเด็ดขาด • ชั้นเยี่ยม เหลือโทษจำาคุกไม่เกิน 1 ใน 3
• ชั้นดีมาก เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ใน 4
• ชั้นดี เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ใน 5 ภายหลังจากที่เจ้าพนักงานเรือนจำได้ประกาศรายชื่อให้ทราบทั่วกันแล้วว่ามีผู้ใดบ้างอยู่ในหลักเกณฑ์ได้รับการพักการลงโทษ นักโทษเด็ดขาดจะต้องปฏิบัติ ดังนี้
1. เตรียมให้ข้อมูลที่ถูกต้องให้แก่เจ้าพนักงานเรือนจำที่เกี่ยวข้องกับตนเอง พร้อมถิ่นที่อยู่และแจ้งชื่อ ผู้ที่จะรับเป็นผู้อุปการะ
2. ทำคำร้องขอคัดสำเนาคำพิพากษาผ่านเรือนจำ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด หรือเพื่อ ความสะดวกรวดเร็วแจ้งให้ญาติไปติดต่อขอคัดสำเนาพิพากษาจากศาลเพื่อส่งให้เรือนจำโดยตรง
3. แจ้งให้ญาติไปติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ปกครองและเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อขอให้รับรองความประพฤติตามเอกสาร (พ.3 หรือพ. 4 พิเศษ) แล้วนำมามอบให้เรือนจำ
4. เมื่อเจ้าพนักงานเรือนจำรวบรวมเอกสารครบถ้วนแล้ว จะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการเรือนจำ และส่งเรื่องไปยังกรมราชทัณฑ์เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
5. เมื่อกรมราชทัณฑ์อนุมัติแล้ว จะแจ้งให้เรือนจำทราบเพื่อทำการปล่อยตัวต่อไป โดยเงื่อนไขการพักโทษ จะได้กำหนดเวลาให้ผู้ที่ได้รับพักการลงดทษมารางงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกคริง เพื่อได้ทราบความเคลื่อนไหวของนักโทษ ผู้ทได้พีกการลงโทษได้ตลอดเวลาที่พักการลงโทษอยู่ และจะต้องให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครงที่ซึ่งอยู่ใกล้ชิดหมั่นสอดส่องสังเกตพฤติการณ์และ ความประพฤติของผู้ที่ให้พักการลงโทษโดยสม่ำเสมอ และหากผู้ได้รับการพักโทษประพฤติผิดเงื่อนไข ก็อาจจะถูกจับกุมส่งเรือนจำได้ทันที ระหว่างการคุมประพฤติจะต้องปฏิบัติตนอย่างไร ช่วงระหว่างการคุมประพฤติ จะมีเจ้าพนักงานคุมประพฤติหรืออาสาสมัครคุมประพฤติไปเยี่ยมที่บ้านของผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวเพื่อให้คำปรึกษา แนะนำ ดูแลช่วยเหลือสงเคราะห์เมื่อมีปัญหา โดยที่ผู้ถูกคุมปรพฤติจะต้องประพฤติปฏิบัติตามเงื่อนไข 8 ข้อ ตามที่กำหนดไว้หากว่าประพฤติผิดเงื่อนไข จะถูกนำตัวกลับมาคุมขังไว้ในเรือนจำตามเดิมและจะถูกลงโทษทางวินัยด้วย เงื่อนไข 8 ข้อ มีดังนี้
1. จะต้องพักอาศัยอยู่ตามที่อยู่ตามที่ได้แจ้งไว้กับทางเรือนจำ
2. ห้ามออกนอกเขตท้องที่ที่อาศัยโดยไม่ได้รับอนุญาต
3. ห้ามประพฤติตนเสื่อมเสีย เช่น เล่นการพนัน ดื่มสุรา ยาเสพติด และกระทำผิดอาญาขึ้นอีก
4. ประกอบอาชีพโดยสุจริต
5. ปฏิบัติตามลัทธิศาสนา
6. ห้ามพกพาอาวุธ
7. ห้ามไปเยี่ยมบ้านหรือติดต่อกับนักโทษอื่นที่ไไม่ใช่ญาติ
8. ให้ไปรายงานตัวกับพนักงานคุมประพฤติเรือนจำ เจ้าพนักงานปกครอง หรือหัวหน้าสถานีตำรวจทุกเดือน ถ้าผู้ได้รับการปล่อยตัว ประพฤติตนตามเงื่อนไขด้วยดีตลอด ก็จะได้รับใบบริสุทธิ์และพ้นโทษไปตามคำพิพากษาเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติต่อไป เอกสารมาประกอบการพิจารณาสืบเสาะข้อเท็จจริงก่อนปล่อยตัว มีดังนี้
1. สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อนักโทษเด็ดขาดพักอาศัย
2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้อุปการะที่นักโทษเด็ดขาดประสงค์จะไปพักอาศัย
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของนักโทษเด็ดขาด หรือสำเนาเอกสารหลักฐานอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้อุปการะหรือสำเนาเอกสารหลักฐานอื่นๆที่ทางราชการออกให้
กรณีนักโทษเด็ดขาดรายใดไม่มีผู้อุปการะ และที่อยู่ที่แน่นอน เรือนจำจะดำเนินการประสานงานกับประชาสงเคราะห์จังหวัด องค์กรกุศลของภาครัฐและภาคเอกชน วัด และมูลนิธิ ต่างๆในท้องถิ่น ให้ความช่วยเหลือในด้านที่พักและการประกอบอาชีพ ผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวพักการลงโทษ ลดวันต้องโทษ และจากการ ออกทำงานสาธารณะ เป็นการให้โอกาศใช้ชีวิตอยู่นอกเรือนจำก่อนที่ีจะครบตามกำหนดโทษตามคำพิพากษา ดังนั้น นักโทษเด็ดขาดจะต้องมีผู้อุปการะและมีที่อยู่แน่นอน มิฉะนั้นจะไม่ได้รับการปล่อยตัว